UFA Slot

กระเทียมกับประโยชน์ต่อสุขภาพ

กระเทียม เป็นพืชล้มลุกที่มีหัวลักษณะเป็นทรงกระเปาะอยู่ใต้ดินเช่นเดียวกับหัวหอม ซึ่งแต่ละหัวจะประกอบด้วย 6-10 กลีบ

นิยมนำมาใช้เป็นเครื่องปรุงประกอบอาหาร กระเทียมเป็นพืชที่ค่อนข้างแตกต่างจากพืชทั่วไป เพราะอุดมไปด้วยกำมะถันหรือซัลเฟอร์ในปริมาณมาก นอกจากนี้กระเทียมประกอบไปด้วยสารอาหารอื่น ๆ

อีกมากมาย เช่น อาร์จีนีน (Arginine) โอลิโกแซ็คคาไรด์ (Oligosaccharides) ฟลาโวนอยด์ (Flavoniods) และซีลีเนียม (Selenium) ซึ่งล้วนเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

หลายคนอาจจดจำกระเทียมได้จากกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งเป็นผลมาจากสารอัลลิซิน (Allicin) นอกจากจะทำให้กระเทียมมีกลิ่นที่โดดเด่นแล้ว อัลลิซินยังเป็นสารออกฤทธิ์หลักที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

และอาจมีส่วนช่วยรักษาโรคหรือทำให้อาการต่าง ๆ ดีขึ้น โดยที่หลายคนเชื่อว่าการรับประทานกระเทียมอาจช่วยบรรเทาอาการที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิต คอเลสเตอรอล บรรเทาหวัด รวมถึงใช้น้ำมันกระเทียมเป็นยาทาภายนอกเพื่อรักษาอาการติดเชื้อทางผิวหนัง เล็บ หรือช่วยรักษาอาการผมร่วงอีกด้วย

ทั้งนี้ข้อพิสูจน์หรือหลักฐานทางการแพทย์มีมากน้อยเพียงใดที่จะช่วยยืนยันสรรพคุณ ประโยชน์ และความปลอดภัยของการรับประทานกระเทียมที่มีบทบาทหรือส่วนช่วยในการรักษาโรคเหล่านี้

ความดันโลหิตสูง อัลลิซินซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ที่พบได้ในกระเทียมสดหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาการที่มีส่วนประกอบของกระเทียม อาจมีส่วนช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อเรียบที่เรียงตัวในหลอดเลือดและส่งผลให้หลอดเลือดขยายตัวและทำให้ระดับความดันโลหิตลดต่ำลง

UFA Slot

ซึ่งสอดคล้องกับการทดลองชิ้นหนึ่งให้ผู้ป่วยที่มีระดับความดันโลหิตสูงโดยที่มีค่าความดันซิสโตลิก (Systolic Blood Pressure: SBP) มากกว่าหรือเท่ากับ 140 มิลลิตรปรอท รับประทานกระเทียมบ่มสกัด

(Aged Garlic Extract: AGE) ขนาด 960 มิลลิกรัม เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าค่าความดันซิสโตลิกลดต่ำลงมากกว่าเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่รับประทานยาหลอก จึงอาจกล่าวได้ว่าการรับประทานกระเทียมบ่มสกัดอาจมีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้ดีกว่ายาหลอก

ถึงแม้ว่าจะมีการทดลองอีก 2 ชิ้นที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของกระเทียมในการลดระดับความดันโลหิตได้ดีกว่าการใช้ยาหลอก แต่เนื่องจากผลการทดลองอาจยังไม่แม่นยำเพียงพอที่จะสรุปประสิทธิภาพของกระเทียม

ได้ว่าสามารถรักษาหรือลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จึงยังจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันประสิทธิภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

มะเร็ง ความสัมพันธ์ของการบริโภคกระเทียมและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งยังไม่แน่ชัดและยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ซึ่งจะเห็นได้จากการวิจัยชิ้นหนึ่งที่ให้ชาวจีนทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารจำนวนกว่า 5,000 คน

รับประทานสารอัลลิทริดินขนาด 200 มิลลิกรัมต่อวัน ร่วมกับสารซีลีเนียมขนาด 100 ไมโครกรัมวันเว้นวัน ซึ่งล้วนเป็นสารสกัดที่ได้จากกระเทียม โดยทำการทดลองเป็นเวลา 5 ปี

และเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่รับประทานยาหลอกแล้วพบว่ากลุ่มที่รับประทานสารอัลลิทริดินร่วมกับสารซีลีเนียมมีความเสี่ยงต่อการเกิดเนื้องอกลดลง 33 เปอร์เซ็นต์ และมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารลดลงถึง 52 เปอร์เซ็นต์

อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาวิจัยอีก 19 ชิ้นแสดงให้เห็นว่า ยังไม่พบหลักฐานที่น่าเชื่อถือได้ที่จะช่วยสนับสนุนความสัมพันธ์ของการบริโภคกระเทียมต่อความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งทรวงอก มะเร็งปอด หรือมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

และมีหลักฐานที่ค่อนข้างจำกัดที่สนับสนุนว่าการบริโภคกระเทียมอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งในช่องปาก หรือมะเร็งรังไข่ทั้งนี้สถาบันมะเร็งแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NCI)

ได้กล่าวว่ากระเทียมเป็นพืชผักชนิดหนึ่งที่อาจมีคุณสมบัติต้านมะเร็ง แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ เช่น รูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกระเทียม หรือปริมาณความเข้มข้นที่หลากหลาย อาจทำให้พิสูจน์ถึงประสิทธิภาพของกระเทียมได้ยาก และเมื่อเวลาผ่านไปหรือเก็บไว้ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ก็อาจทำให้ประสิทธิภาพของกระเทียมเสื่อมสลายไปได้เช่นกัน


อ่านบทความข่าวสารอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ palarredi.com อัพเดตทุกสัปดาห์

Releated