เด็กไทย

เด็กไทย คว้ารางวัลใหญ่การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับโลก

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แจ้งว่า ในการประกวด โครงงานวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมสำหรับเยาวชน ระดับโลก REGENERON ISEF 2023 ที่เมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา จัดโดย Society for Science & the Public วันที่ 13-19 พฤษภาคม เด็กไทย คว้ารางวัลใหญ่

โดยในปีนี้มีนักเรียนกว่า 1,600 คน จาก 63 ประเทศจากทั่วโลก เข้าร่วมการแข่งขันการประกวด โครงงานวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมสำหรับเยาวชน โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ไดนำทีมเยาวชน เด็กไทย เข้าร่วมในการแข่งขันครั้งนี้ด้วย

โดยผลการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ปรากฏว่า ทีมจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย มีสมาชิกประกอบด้วย นายปูรณ์ ตระกูลตั้งมั่น นายทีปกร แก้วอำดี และนายปัณณธร ศิริ มีนายชนันท์ เกียรติสิริสาสน์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา คว้ารางวัลใหญ่ที่สุดของการประกวด

คือรางวัลสุดยอดนักวิทยาสตร์รุ่นเยาว์ Regeneron Young Scientist Awards สนับสนุนโดย Regeneron and Society for Science รางวัลโครงงานวิทยาศาสตร์นวัตกรรมการวิจัยที่สะท้อนถึงการทำงานอย่างจริงจังของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์

ในการหาคำตอบเพื่อแก้ปัญหาความท้าทายของโลกในอนาคต โดยใช้แนวที่สร้างสรรค์ และแตกต่าง ได้รับเงินรางวัล 50,000 ดอลล่าร์ พร้อมรางวัล Grand Awards อันดับ 1 สาขาสัตวศาสตร์ พร้อมเงินรางวัล 5,000 ดอลล่าร์ กับโครงงานโครงงานวิทยาศาสตร์ “การเพิ่มอัตราการรอดของแมลงช้างปีกใส (Mallada basalis) จากพฤติกรรมการฟักและการเลือกกินอาหาร (Innovation for Optimizing Lacewing Survivability)”

เด็กไทยคว้ารางวัลใหญ่การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับโลก

นอกจากนี้ ยังมีทีมเยาวชนไทยที่สามารถคว้ารางวัลโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมสำหรับเยาวชน Grand Awards และ Special Awards อีกหลายสาขา ได้แก่

1.โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จ.เชียงราย รับรางวัล Grand Awards อันดับที่ 2 สาขาสัตวศาสตร์ โครงงานวิทยาศาสตร์วิธีการใหม่ในการตรวจสอบการติดเชื้อโรคเพบริน (Pebrine Disease Detection Using Silkworm Phototaxis)

มีสมาชิกคือ นายธนวิชญ์ น้ำใจดี นายพณทรรศน์ ชัยประการ และ น.ส.กัญญาริณทร์ ศรีวิชัย มีนายเกียรติศักดิ์ อินราษฎร เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

2.โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี รับรางวัล Grand Award อันดับที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์โลกและวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม โครงงานวิทยาศาสตร์ พัฒนานวัตกรรมซ่อมแซมป่าหลังเกิดไฟป่าเลียนแบบโครงสร้างของผลน้อยหน่าเครือ (Kadsura coccinea) (A Novel Seed Delivery System for Effective Reforestation)

มีสมาชิกคือ นายจิรพนธ์ เส็งหนองแบน นายนฤพัฒน์ ยาใจ และนายพรหมพิริยะ ขัตติยวงษ์ มีนายขุนทอง คล้ายทอง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

3.โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ รับรางวัล Grand Awards อันดับที่ 3 สาขาสัตวศาสตร์ โครงงานวิทยาศาสตร์ “วิธีการยั่งยืนในการควบคุมปัญหาการเป็นศัตรูพืชของหนอนด้วงสาคู” (Approach to Control Red Palm Weevil Pests)

นอกจากนี้ ยังได้รับรางวัล Special Award อันดับที่ 2 จากหน่วยงาน : U.S. Agency for International Development (USAID) ในสาขา Agriculture and Food Security มีสมาชิกคือ นายสัญพัชญ์ อัครจีราวัฒน์ และนายธนัตถ์กรณ์ เชาวนสมิทธิ์ มี น.ส.วนิดา ภู่เอี่ยม เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

4.โรงเรียนกำเนิดวิทย์ จ.ระยอง รับรางวัล Grand Award อันดับที่ 3 สาขาฟิสิกส์และดาราศาสตร์ โครงงานวิทยาศาสตร์การศึกษาแบบจาลองผลของสนามแม่เหล็กต่อพายุทรงหลายเหลี่ยมบนดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์โดยหลักความไม่เสถียรเชิงอุทกพลศาสตร์ (Study of Polygonal Cyclones on Jupiter and Saturn)

มีสมาชิกคือ น.ส.จินต์จุฑา ปริปุรณะ นายปวริศ พานิชกุล และ น.ส.อมาดา ภานุมนต์วาที มี ดร.ปริญญา ศิริมาจันทร์ และนายศรัณย์ นวลจีน เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

5.โรงเรียนกำเนิดวิทย์ จ.ระยอง รับรางวัล Grand Award อันดับที่ 4 สาขาชีววิทยาเชิงคำนวณและชีวสารสนเทศศาสตร์ โครงงานวิทยาศาสตร์ PROSynMOGN: การปรับปรุง Graph Neural Networks สำหรับโมเลกุลเพื่อทำนายการเสริมฤทธิ์ของยาคู่ผสมสำหรับรักษาโรคมะเร็งที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลการแสดงออกของโปรตีน

มีสมาชิกคือ นายติสรณ์ ณ พัทลุง นายเมธิน โฆษิตชุติมา และนายกิตติพัศ พงศ์อรุโณทัย มีดร.ธนศานต์ นิลสุ โรงเรียนกำเนิดวิทย์ นายบัณฑิต บุญยฤทธิ์ สถาบันวิทยสิริเมธี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

6.โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่ รับรางวัล Grand Award อันดับที่ 4 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ปริวรรต โครงงานวิทยาศาสตร์ ออร่า “ผู้ช่วยป้องกัน ชะลอ และฟื้นฟูข้อเสื่อม” (O-RA: Osteoarthritis Rehabilitation Assistant)

นอกจากนี้โครงงานวิทยาศาสตร์นี้ยังได้รับรางวัล Special Award อันดับที่ 1 จากหน่วยงาน : Sigma Xi, The Scientific Research Honor Society ในสาขา: Life Sciences Discipline มีสมาชิกคือ น.ส.นภัสชล อินทะพันธุ์ นายแก้วกล้า สร้อยกาบแก้ว และนายกฤตภาส ตระกูลพัว มีนายกฤติพงศ์ วชิรางกุล เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ palarredi.com

แทงบอล

Releated